นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม (ถึงแก่กรรม เมื่อปี 2559)
16 พ.ย. 2560
25,838
2,256
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2552
นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม (ถึงแก่กรรม เมื่อปี 2559)
นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม (ถึงแก่กรรม เมื่อปี 2559)

นายวิบูรย์ เข็มเฉลิม 

ผู้นำวิถีชีวิตเกษตรพึ่งตนเองในอดีตได้เข้ามาเป็นแรงงานเด็กในเมือง ฉะเชิงเทรา พยายามเรียนจนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างปี พ.ศ. 2504-2524 นายวิบูรณ์ เข็มเฉลิมทำการเกษตรเชิงธุรกิจจนทำให้เกิดหนี้สินจำนนวนมาก ซึ่งเกษตรเชิงธุรกิจเป็นระบบที่ใช้การลงทุนด้วยเงินทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ การจ้างแรงงาน ซื้อพันธุ์ไถดิน เตรียมดิน ถางหญ้า ให้ปุ๋ย ให้สารเคมี แม้กระทั่งจะต้องจ้างแรงงานขนย้ายเพื่อนำไปขาย ทำให้ในปี 2504 ถูกธนาคารฟ้องร้องและบังคับให้ขายที่ดิน 200-300 ไร่ เพื่อนำไปใช้หนี้สิน จึงทำให้นายวิบูรณ์ เข็มเฉลิม เหลือที่ดินประมาณ 10 ไร่ และต่อมาได้เปลี่ยนวิถีชิวิตจากการเกษตรเชิงธุรกิจ มาสู่การเกษตรแบบพึ่งตนเอง บนที่ดินที่เหลืออยู่ ซึ่งนายวิบูรย์ ทำการเกษตรบนพื้นฐานของความรู้ความเข้าใจ และการเรียนรู้ที่ถูกต้อง สามารถเข้าใจทรัพยากร และจัดการเป็น ทำให้ไม่มีหนี้สิน และไม่เดือนร้อนไม่ว่าจะมีเงินมากน้อย เนื่องจากมีพออยู่พอกิน และไม่สร้างภาระให้กลายเป็นหนี้สินขึ้นมาอีก ซึ่งนายวิบูรณ์ มองว่า ปัญหาที่เกิดวันนี้ ไม่ใช่เรื่องของจำนวนที่ดินที่มีมากหรือน้อย หรือต้องทำอะไรจำนวนมากๆ แต่ปัญหาสำคัญที่เกิดคือไม่สามารถบริหารจัดการได้

การศึกษา 

มหาบัณฑิตกิติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สถานภาพ

สมรสกับนางสมบูรณ์ เข็มเฉลิม มีบุตร 1 คน และธิดา 2 คน

อาชีพ

เกษตรกร

ที่อยู่

บ้านเลขที่ 224 บ้านห้วยหิน หมู่ที่ 1 ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเต จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผลงานดีเด่น

1. อนุกรรมการดำเนินโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ในพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด (ภาคตะวันออก) ดันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ
2. หัวหน้าโครงการศึกษาพรรณพฤกษชาติและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ในป่าตะวันออกอย่างยั่งยืน
3. สมาชิกวุฒิสภา 
4. คณะกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ
5. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
6. แนวคิดพึ่งตนเองและแนวทางสนเกษตร

      นายวิบูรย์ เข็มเฉลิม ผู้นำวิถีชีวิตเกษตรพึ่งตนเองในอดีตได้เข้ามาเป็นแรงงานเด็กในเมือง ฉะเชิงเทรา พยายามเรียนจนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างปี พ.ศ. 2504-2524 นายวิบูรณ์ เข็มเฉลิมทำการเกษตรเชิงธุรกิจจนทำให้เกิดหนี้สินจำนนวนมาก ซึ่งเกษตรเชิงธุรกิจเป็นระบบที่ใช้การลงทุนด้วยเงินทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ การจ้างแรงงาน ซื้อพันธุ์ไถดิน เตรียมดิน ถางหญ้า ให้ปุ๋ย ให้สารเคมี แม้กระทั่งจะต้องจ้างแรงงานขนย้ายเพื่อนำไปขาย ทำให้ในปี 2504 ถูกธนาคารฟ้องร้องและบังคับให้ขายที่ดิน 200-300 ไร่ เพื่อนำไปใช้หนี้สิน จึงทำให้นายวิบูรณ์ เข็มเฉลิม เหลือที่ดินประมาณ 10 ไร่ และต่อมาได้เปลี่ยนวิถีชิวิตจากการเกษตรเชิงธุรกิจ มาสู่การเกษตรแบบพึ่งตนเอง บนที่ดินที่เหลืออยู่ ซึ่งนายวิบูรย์ ทำการเกษตรบนพื้นฐานของความรู้ความเข้าใจ และการเรียนรู้ที่ถูกต้อง สามารถเข้าใจทรัพยากร และจัดการเป็น ทำให้ไม่มีหนี้สิน และไม่เดือนร้อนไม่ว่าจะมีเงินมากน้อย เนื่องจากมีพออยู่พอกิน และไม่สร้างภาระให้กลายเป็นหนี้สินขึ้นมาอีก ซึ่งนายวิบูรณ์ มองว่า ปัญหาที่เกิดวันนี้ ไม่ใช่เรื่องของจำนวนที่ดินที่มีมากหรือน้อย หรือต้องทำอะไรจำนวนมากๆ แต่ปัญหาสำคัญที่เกิดคือไม่สามารถบริหารจัดการได้

     นายวิบูรณ์ เข็มเฉลิม เห็นว่าเกษตรกรจำเป็นต้องเข้าใจชีวิต โดยหากมีผลผลิตหลายอย่างเกินความจำเป็นต้องกินต้องใช้ ก็สามารถขายได้ แต่จะขายอย่างไรหรือเท่าไร อยู่ที่ความรู้ความเข้าใจ แต่ทุกวันนี้เกษตรกรปลูกผลผลิตได้เท่าไหร่ ก็จะขายทั้งหมด แล้วก็เอาเงินไปซื้อกินทั้งหมดก็จะอยู่ไม่ได้ ดังนั้นเกษตรกรต้องเปลี่ยนวิธีคิดและระบบการจัดการใหม่ โดยสรุปแล้วทำธุรกิจต้องมอง เรื่องชีวิตด้วย มองเรื่องค้าขายในส่วนที่จำเป็นต้องขาย ซึ่งถ้ามองเรื่องค้าขายอย่างเดียวโดย ไม่สนในเรื่องชีวิตจะอยู่อย่างไร หรือจะเอาแต่เรื่องชีวิต ไม่เอาเงินเลย ก็อยู่ไม่ได้เหมือนกัน เพราะสังคม เปลี่ยนระบบความสัมพันธ์ไปใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มนุษย์จึงไม่ปฏิเสธเงิน ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่จะเอาแต่เงิน

    นายวิบูรย์ เข็มเฉลิม ได้ตัดสินใจเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนเอง จากเกษตรธุรกิจ มาเป็นแบบการพึ่งตนเอง ซึ่งต้องเริ่มจากจิตใจก่อน มีความเข้าใจชิวิตว่าชีวิตควรเป็นอิสระจากอิทธิพลของเงินและระบบตลาดให้มากที่สุดโดยเป็นหนทางในการเลี้ยงชีวิตที่ครอบคลุมปัจจัยสี่ และเหลือเงินทองสำหรับการจับจ่ายมราจำเป็น นายวิบูลย์ได้เรียนรู้จากผืนดิน 10 ไร่ที่เหลือ โดยได้ปลูกพันธ์ไม้สารพัดจนกลายเป็นป่าย่อมๆ ที่แน่นขนัด เมื่อถึงจุดหนึ่งสามารถให้ผลผลิต ศักยภาพของการพึ่งตนเองเริ่มปรากฎชัดขึ้น ซึ่งนายวิบูลย์ เข็มเฉลิมเรียกวงจรการพึ่งตนเองที่อิงอาศัยป่าเล็กๆ ว่า วนเกษตร ซึ่งหมายถึง การดำรงชีวิตของมนุษย์ที่อยู่เคียงคู่กับป่า และความหลากหลายพรรณไม้ใหญ่น้อย และเรียนรู้การหาอยู่หากินอย่างมีความสุข โดนวนเกษตรต้องมีความหลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้พรรณพืชในวนเกษตรได้เติบโตโดนอย่างอิสระและสมบูรณ์ การเริ่มต้นวนเกษตรจะต้องว่างแผน โดยเริ่มจากพิจารณารูปที่ดินลักษณะผืนดิน ความลาดชัน ต้นไม้ดังเดิม จะเป็นรูปแบบของสวนที่มีทั้งป่า ไม้ยืนต้น ไม้ผล แปลงผักรวมอยู่ในบริเวณบ้าน หรือจะเป็นไม้ยืนต้นปลูกรอบคันนา หรือจะกันพื้นที่พืชไร่ส่วนหนึ่งเป็นป่าเพื่อเริ่มลองวนเกษตร ซึ่งวนเกษตรสามารถยืนหยุ่นได้ไม่มีลักษณะตายตัว แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม้ผลขนาดกลาง พืชผักสมุนไพร ที่หลากหลายชนิด และสามารถตอบสนองประโยชน์ใช้สอยได้ โดยปลูกคละเติบโตอยู่รวมกันในพื้นที่ การบริหารจัดการในวนเกษตร เป็นศิลปะเฉพาะตัว ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ แต่ถ้าเริ่มจากการทำอยู่ทำกินเป็นหลัก ชีวิตวนเกษตรไม่ลำบากมากนัก นอกจากนายวิบูลย์ เข็มเฉลิม จะเป็นผู้บุกเบิกวนเกษตรแล้ว ยังเป็นนักสะสมพันธุ์กล้าไม้ป่าที่มีคุณค่า เพื่อแจกจ่ายให้ผู้คนที่เริ่มสนใจวนเกษตรได้ไปปลูก

     นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม เห็นว่า วนเกษตรคือรากฐานของชีวิต และรากฐานของครัวเรือนไทยในชนบท และยังเป็นรากฐานของประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นหนทางที่นำพาชีวิตให้หลุดพ้นจากบ่วงแห่งสังคมบริโภคนิยม แต่กระบวนการเรียนรู้เป็นเรื่องยากที่จะทำให้เกิดขึ้นในจิตใจของประชาชนทั่วไปกว่าที่นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม จะได้ค้นพบวิธีแห่งวนเกษตร ได้ผ่านการเรียนรู้ที่ยาวนานและเจ็บปวด เมื่อพบและเชื่อมั่นในหนทางนี้ ชีวิตที่เหลือของนายวิบูลย์ เข็มเฉลิมจึงได้ทุ่มเทให้กับสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องวนเกษตรให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยมิได้ผลักดันกระบวนการเรียนรู้ในชนบทเท่านั้น แต่ยังได้มีโอกาสผลักดันเข้าไปในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยังผลักดันถึงในรัฐสภา ในการกำหนดกรอบนโยบายหลักของประเทศ และในปี 2549 สามารถผลักดันเข้าสู่นโยบายของรัฐบาลได้ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น โครงการปลูกต้นไม้ใช้หนี้ และกลายเป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาลในที่สุด

ตกลง