นายเสริมลาภ วสุวัต (ถึงแก่กรรม เมื่อปี 2557)
20 ก.ค. 2560
2,589
1,249
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้ทรงภูมิปัญญาและคุณูปการต่อภาคการเกษตรไทย ปี 2555
นายเสริมลาภ วสุวัต (ถึงแก่กรรม เมื่อปี 2557)
นายเสริมลาภ วสุวัต (ถึงแก่กรรม เมื่อปี 2557)

ดร.เสริมลาภ วสุวัต ดร.เสริมลาภ วสุวัต เป็นผู้ที่มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย พอเพียงตามฐานานุรูป มีความตั้งใจในการศึกษาและพัฒนาทางด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง คิดนอกกรอบอย่างมีหลักเพื่อสร้างผลงานหรือองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวงการเกษตรที่เกี่ยวข้อง ทั้งงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในหน้าที่ขณะรับราชการในกรมวิชาการเกษตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 จนเกษียณอายุราชการ ซึ่งมีผลงานต่าง ๆ อาทิ ในปี พ.ศ. 2503 ทำการศึกษาพัฒนาระบบงานวิจัยทางพืชของกรมกสิกรรมเป็นระบบ “งานวิชาการรวมตามชนิดของโภคภัณฑ์” (Multidisciplinary – Commodity Approach) ปรับปรุงพันธุ์พืชไร่ พืชสวนในด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านการพัฒนาสายพันธุ์ให้ทนทานต่อโรคและแมลง นอกจากนี้ยังมีความชำนาญเป็นพิเศษเกี่ยวกับยางพารา จนได้รับตำแหน่งเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านยางพาราและได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ดีเด่นในวงการยางด้านผู้วางรากฐานการวิจัยและพัฒนายาง ในปี พ.ศ. 2542 และการศึกษาพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ เกี่ยวกับบัวชนิดต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 จนปัจจุบัน ซึ่งเป็นกิจกรรมเสริมอันเกิดจากความสนใจใคร่รู้ส่วนตัว

อายุ              82 ปี

สถานภาพ     หม้าย

ที่อยู่              บ้านเลขที่ 25 ซอยติวานนท์ 46 ถนนติวานนท์ ตำบลท่าทราย 

                    อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

โทรศัพท์        02-5915601

อาชีพ            ข้าราชการบำนาญ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

                    ที่ปรึกษาในโครงการบัวและพืชเศรษฐกิจ สู้ภาวะโลกร้อนของกรมวิชาการเกษตร

คุณลักษณะส่วนบุคคล

ดร.เสริมลาภ วสุวัต เป็นผู้ที่มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย พอเพียงตามฐานานุรูป มีความตั้งใจในการศึกษาและพัฒนาทางด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง คิดนอกกรอบอย่างมีหลักเพื่อสร้างผลงานหรือองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวงการเกษตรที่เกี่ยวข้อง ทั้งงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในหน้าที่ขณะรับราชการในกรมวิชาการเกษตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 จนเกษียณอายุราชการ ซึ่งมีผลงานต่าง ๆ อาทิ ในปี พ.ศ. 2503 ทำการศึกษาพัฒนาระบบงานวิจัยทางพืชของกรมกสิกรรมเป็นระบบ “งานวิชาการรวมตามชนิดของโภคภัณฑ์” (Multidisciplinary – Commodity Approach) ปรับปรุงพันธุ์พืชไร่ พืชสวนในด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านการพัฒนาสายพันธุ์ให้ทนทานต่อโรคและแมลง นอกจากนี้ยังมีความชำนาญเป็นพิเศษเกี่ยวกับยางพารา จนได้รับตำแหน่งเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านยางพาราและได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ดีเด่นในวงการยางด้านผู้วางรากฐานการวิจัยและพัฒนายาง ในปี พ.ศ. 2542 และการศึกษาพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ เกี่ยวกับบัวชนิดต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 จนปัจจุบัน ซึ่งเป็นกิจกรรมเสริมอันเกิดจากความสนใจใคร่รู้ส่วนตัว

ในด้านความสนใจส่วนตัวอันเกี่ยวเนื่องกับ บัวทั้งในและนอกประเทศ จากการเรียนรู้แบบนักวิชาการที่ทำการปลูกเลี้ยงปฏิบัติศึกษาเก็บข้อมูลต่าง ๆ เรียนรู้ด้วยมือตนเองและศึกษาจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่มีรวมทั้งไปเรียนรู้จากครูชาวบ้านก็คือ กสิกรผู้ปลูกเลี้ยงบัวเป็นอาชีพ ดร.เสริมลาภ จึงได้เริ่มเผยแพร่ความรู้เขียนบทความต่าง ๆ ลงในวารสาร และนิตยสาร เช่น วารสารกสิกร วารสารไม้ตัดดอก  วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน นิตยสารบ้านและสวนนิตยสารวิมานเมฆ ฯลฯ เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับบุคคลทั่วไป รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาในโครงการวิจัยต่าง อันเกี่ยวข้องกับบัว เพื่อการพัฒนาต่อยอดให้เป็นพืชเศรษฐกิจ และเริ่มรวบรวมความรู้เขียนเป็นหนังสือต่าง ๆ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องโดยได้รับรางวัลและการประกาศเกียรติคุณ เป็นที่ยอมรับดังนี้

- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ทางวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จากผลงานทางวิชาการและพัฒนายางที่ทำให้แก่ประเทศไทย พ.ศ. 2524

- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางเกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากผลงานทางวิชาการที่ให้แก่วงการวิทยาศาสตร์เกษตรของประเทศไทย พ.ศ. 2527

- ได้รับรางวัล “นักปรับปรุงพันธุ์พืชดีเด่น” จากสมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2537

- ได้รับเกียรติบันทึกใน “หอเกียรติยศ” รางวัล Hall of Fame ของสมาคมบัวและสวนไม้น้ำสากล International Waterlily and Water Gardening Society – IWGS. ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2541

- หนังสือที่เขียนเรื่อง “การปลูกอุบลชาติเป็นไม้ดอกและประดับ” ปี 2525 ได้รับเลือกจากคณะวิจัย สกว. เป็นหนึ่งในหนังสือดีทางวิทยาศาสตร์ 88 เล่ม ของปี พ.ศ. 2551-2530

- ได้รับโล่รางวัล “ผู้ทรงคุณค่าต่อวงการเกษตรไทย” จาก บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน) โดย นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ในปี พ.ศ. 2552

ผลงานสร้างคุณประโยชน์

1. ศึกษาพันธุ์ละหุ่งไทยได้ 12 พันธุ์

2. สร้างสูตรปุ๋ย 8-14-14 สำหรับมันสำปะหลัง

3. ศึกษาวิธีการเร่งข้าวสาลีให้ดอกดก

4. พบกรรมพันธุ์ของความต้านทานโรคไวรัสในแตง

5. พบธรรมชาติของความต้านทานโรคไวรัสในแตง

6. สร้างพันธุ์แตง “Wisconsin SMR 15 และWisconsin 18 ให้มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน

7. คัดเลือกและสร้าง-ผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก 6 ชนิด คือ คะน้าใบ คะน้าก้าน หัวผักกาดพันธุ์เบา หัวผักกาดพันธุ์หนัก ถั่วลันเตาพันธุ์เบา ถั่วลันเตาพันธุ์หนัก

8. พบวิธีทดสอบคุณภาพการกรอบของหัวผักกาด

9. วิธีแยกและเก็บสายพันธุ์ละหุ่งพันธุ์ดอกตัวเมียล้วน

10. กรรมพันธุ์ของละหุ่งพันธุ์ดอกตัวเมียล้วน

11. การใช้โคบอลท์ 45 สกัดขน-สร้างพันธุ์ปอแก้วคิวบาใหม่

12. สำรวจโรคติดมากับเมล็ดข้าวโพด

13. สำรวจโรคติดมากับเมล็ดปอแก้ว

14. ฤดูกาลปลูกข้าวโพด-ข้าวฟ่าง ภาคตะวันออก

15. ทดลองปลูกข้าวสาลีครั้งแรกที่เชียงราย

16. ทดลองปลูกฝ้ายครั้งแรกที่เลย

17. ชักนำและสนับสนุนให้มีการรวบรวมพันธุ์ยางพาราป่าจากบราซิล-นำเข้ามาประเทศไทยมากกว่า3000 สายพันธุ์

18. ชักนำการใช้ประโยชน์จากไม้ยางพารา

19. ทดลองปลูกปาล์มน้ำมันครั้งแรกในประเทศนำพันธุ์ปาล์ม PISIFERA มาปลูก 18 สายพันธุ์

20. ช่วยทำให้อีสานเขียวด้วยยางพาราได้สำเร็จ

21. สร้าง-ศึกษา-พัฒนาวิธีปลูก-บำรุงรักษาบัวประดับในประเทศไทย

22. รวบรวม ผสมพัฒนา คัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์บัวประดับของไทย กว่า 60 พันธุ์ ซึ่งบัวเหล่านั้นเป็นบัวที่ถูกนักปรับปรุงพันธุ์รุ่งหลังๆนำไปใช้เป็น แม่หรือพ่อพันธุ์ จนได้บัวพันธุ์ใหม่ ๆ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และด้านการค้า เช่น พันธุ์สยามบลูส์ฮารด์ดี (พัฒนาโดย คุณไพรัตน์ ทรงพานิช เป็นลูกผสมข้ามสกุลย่อยของบัวนากวักฟ้า) พันธุ์ฉลองขวัญ (พัฒนาโดย คุณชัยพล ธรรมสุวรรณ จากลูกผสมของบัวพันธุ์ลาภประเสริฐ) พันธุ์พลอยเจียร (พัฒนาโดย คุณเทียรชัย เทียรเดชสกุล จากลูกผสมของบัวสาย แม่พลอย) และพันธุ์พลอยพราว (พัฒนาโดย ปริมลาภ ชูเกียรติมั่น จากลูกผสมของบัวสาย แม่พลอย) ฯลฯ

23. รวบรวม ศึกษา และคัดเลือกพันธุ์บัวหลวงพื้นเมืองของไทยได้กว่า 40 พันธุ์ ซึ่งบัวเหล่านั้นเป็นบัวที่ถูกนักปรับปรุงพันธุ์รุ่นหลัง ๆ นำไปใช้เป็นแม่หรือพ่อพันธุ์ จนได้บัวหลวงพันธุ์ใหม่ เช่น บัวหลวงจันทร์โกเมน (พัฒนาโดยคุณวิชัย ภูริปัญาวนิชและคณะ เป็นลูกผสมของ บัวหลวงพระราชินี)

การขยายผลงาน

มีผลงานเป็นหนังสือเฉพาะด้านเกี่ยวกับบัวในประเทศไทย ดังนี้ การปลูกอุบลชาติเป็นไม้ดอกและประดับ (Culture of Ornamental Nymphaea). “อุบลชาติ” (Waterlily) รวบรวมพันธุ์บัวบางส่วน เรียบเรียงเขียนลงไปใน สารานุกรมไม้ประดับแห่งประเทศไทยเล่มที่ 3 ในปี พ.ศ. 2525 “บัว ไม้ดอกประดับ” (Ornamental lotuses and Waterlilies) “การปลูกบัวกระด้ง เป็นไม้ดอกและประดับ (Cultural of Ornamental Victoria) บัวประดับในประเทศไทย เล่มที่ 1 และ 2 สารานุกรมสำหรับเยาวชนในพระราชดำริ เล่มที่ 13 (บทความเรื่องบัว) บทความเรื่องจงกลนี และบทความอื่น ๆ ในวารสาร วิมานเมฆ แจกในสายการบินไทย (ภาษาไทยและต่างชาติ) บทความลงในจุลสารการเกษตรของจีน และญี่ปุ่น

มีส่วนร่วมในการก่อตั้งชมรมผู้รักบัวแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันยุติการดำเนินการ) และเป็นสมาชิกของสมาคมบัวและไม้น้ำสากล (International Waterlily and Water Gardening Society-IWGS ประเทศสหรัฐอเมริกา

ให้การสนับสนุนในงานวิจัยด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาบัวไทยให้เป็นพืชเศรษฐกิจ ทั้งความรู้ในฐานะที่ปรึกษา และการศึกษาพันธุ์ผลักดันให้มีการสัมมนาในเรื่องเกี่ยวกับ การพัฒนาบัวไทยให้เป็นพืชเศรษฐกิจ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 และเข้าร่วมในการสัมมนาทุกครั้งเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ จนปัจจุบัน รวมทั้งให้การสนับสนุนต้นพันธุ์บัวเพื่อรักษาสายพันธุ์ตามหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สวนหลวง ร.9 สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อ.แม่ริม สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จัตุจักร พิพิธภัณฑ์บัวสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลคลอง 6 พิพิธภัณฑ์บัว สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เป็นต้น

เปิดบ้านปางอุบลให้บุคคลทั่วไปเข้าเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ศึกษาความรู้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519-ปัจจุบัน และ ร่วมกับบุตร จัดทำเว็บไซต์ www.thaiwaterlily.com เพื่อเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้หรือตอบข้อซักถามต่าง ๆ 

ตกลง