นายขวัญชัย รักษาพันธ์
21 ก.ค. 2560
19,384
2,946
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2555
นายขวัญชัย รักษาพันธ์
นายขวัญชัย รักษาพันธ์

นายขวัญชัย รักษาพันธ์ เป็นผู้ที่ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงามจนเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับจากบุคคลโดยทั่วไป มีความขยันหมั่นเพียร พึ่งตนเอง เสมอต้นเสมอปลาย มีความรับผิดชอบตนเองและผู้อื่น ชอบช่วยเหลือ และขันอาสา สังคมในทุกๆ ด้นที่ทำได้ทำให้ได้รางวัลคนดีที่สมควรยกย่องเชิดชู จากผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับรางวัลเกษตรกรสำนักรักบ้านเกิด จากมูลนิธิรักบ้านเกิด และได้รับประกาศเกียรติคุณ คนดีศรีสังคม จาก ศ.นพ.ประเวศวะสี ประธานโครงการคนดีศรีสังคม

อายุ              65 ปี

สถานภาพ     สมรส

ที่อยู่              บ้านเลขที่ 85 หมู่ 2 ตำบลเทพราชย์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

โทรศัพท์         08-52793193

อาชีพ            เกษตรกรรม

คุณลักษณะส่วนบุคคล

1. การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นที่ยอมรับของสังคม

- ประกอบสัมมาอาชีพเกษตรกรรม ทำนาโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

- ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไว้ใช้เอง และเผยแพร่ให้เกษตรกรและผู้สนใจนำไปใช้ในการทำการเกษตรในพื้นที่ตนเอง

- เป็นผู้ที่ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงามจนเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับจากบุคคลโดยทั่วไป มีความขยันหมั่นเพียร พึ่งตนเอง เสมอต้นเสมอปลาย มีความรับผิดชอบตนเองและผู้อื่น ชอบช่วยเหลือ และขันอาสา สังคมในทุกๆ ด้นที่ทำได้ทำให้ได้รางวัลคนดีที่สมควรยกย่องเชิดชู จากผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับรางวัลเกษตรกรสำนักรักบ้านเกิด จากมูลนิธิรักบ้านเกิด และได้รับประกาศเกียรติคุณ คนดีศรีสังคม จาก ศ.นพ.ประเวศวะสี ประธานโครงการคนดีศรีสังคม

- เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมการไถ่ชีวิตความในจังหวัดฉะเชิงเทรา มาเป็นปีที่ 21

- เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมประเพณีจุลกฐินสามัคคี

- ได้รับหน้าที่เป็นคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ปี 2537

2. มีคุณธรรมจริยธรรมและเสียสละในการถ่ายทอดองค์ความรู้

- เป็นเกษตรกรที่มีคุณธรรมจริยธรรมประพฤติตนอยู่ในระเบียบแบบแผน เป็นเจ้าภาพทำบุญไถ่ชีวิตความมาแล้วเป็นปีที่ 21 ติดต่อกัน เป็นเจ้าภาพจัดงานพิธีทำบุญจุลกฐิน เป็นเจ้าภาพจัด กิจกรรมทำบุญ 9 วัด ในพื้นที่ฉะเชิงเทราและจังหวัดใกล้เคียง จนได้รับใบประกาศเกียรติคุณ เป็นผู้อนุรักษ์ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย จากนายบุญชูโรจนเสถียร รองนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2537

- เป็นผู้ที่เผยแพร่องค์ความรู้ต่าง ๆ เช่น ยา สมุนไพร ปุ๋ยชีวภาพ การลดต้นทุนด้านการเกษตร การเพาะไรแดงเพื่อเป็นอาหารสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงปลาและกุ้งในบ่อเดียวกัน เป็นต้น เป็นผู้อุทิศแรงกายแรงใจ องค์ความรู้ให้กับผู้สนใจทุกคน โดยเสมอภาคกัน เท่าเทียมกัน และไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นวรรณะ จนได้รางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด จากมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด เมื่อปี 2551

- ร่วมจัดกิจกรรมต่าง ๆ กับเทศบาลตำบลเทพราชในฐานะคณะกรรมการชุมชน จนได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ เป็นผู้เสียสละ อุทิศเวลา แรงกายแรงใจ จากนายพลาการ โชคพิชิตชัย นายกเทศมนตรี ตำบลเทพราช ตั้งแต่ พ.ศ. 2550-2552

- เป็นวิทยากรให้กับหลายหน่วยงานที่เชิญไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกล เช่น จังหวัดสกลนคร อำนาจเจริญ ยโสธร พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ศรีษะเกษ เชียงใหม่ และจังหวัดนครปฐม โดยไม่ได้คำนึงถึงค่าตอบแทน

- ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาด้านการเกษตรของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นคณะกรรมการ และคณะทำงานของหน่วยงานราชการให้พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราหลายหน่วยงาน

3. มีความสามารถในการใช้องค์ความรู้ในด้านนั้น ๆ

- เป็นผู้นำพันธุ์ข้าว “หอมนครชัยศรี” มาขยายพันธุ์ ปี 2518 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

- เป็นผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ 9 สายพันธุ์ เมื่อแปรรูปแล้วนำมาผสมกัน ตั้งชื่อ “ข้าวนพรงค์”

- เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้กับผู้สนใจทั่วไปทั้งภาครัฐเอกชนและบุคคลทั่วไป อย่างมากมาย เป็นที่ประจักษ์ยอมรับ จนได้รับเกียรติคุณให้เป็นผู้มีภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาเกษตรกรรมดีเด่น จากนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2517 ได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2548 ได้รับรางวัลนักพัฒนาตามรอยเบื้องยุคบาท สาขาปรับปรุงดินและน้ำเมื่อปี พ.ศ. 2549 และได้รับรางวัลเกียรติยศ ผู้รู้ ผู้เอื้อเฟื้อ ในการเป็นปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ส.ป.ก. จากนายอนันต์ ภู่สิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2551

4. ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ใฝ่ปฏิบัติ

- จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาปฐพีวิทยา จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ปี 2512

- จบการศึกษาหลักสูตรบัณฑิตอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2515 และได้เข้าทำงานที่มูลนิธิสิทธิพร กฤดากร

- เริ่มทำเกษตรกรเต็มตัว สร้างแปลงต้นแบบไร่นาสวนผสม เมื่อปี 2517

-เป็นผู้นำข้าวพันธุ์มหัศจรรย์ “ไออา8” มาปลูกขยายพันธุ์ในฤดูนาปรังที่ ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ เป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2511

- เป็นผู้ชำนาญในการปลูกแตงโมเหลือคนแรกในจังหวัดฉะเชิงเทรา

- เป็นผู้วิจัยเรื่อง ข้าวใส่ปุ๋ยอินทรีย์แล้วแมลงไม่มา

- เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องลดความชื้นข้าวเปลือกจนได้รับรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์เพื่อการพัฒนา ปี 2525 จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน

5. เป็นผู้นำที่ดีและมีความสามารถในการบริหารจัดการ

- ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาด้านการเกษตรของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นคณะกรรมการและคณะทำงานของหน่วยงานราชการในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราหลายหน่วยงาน ได้เสนอแนะข้อคิดเห็น ท้วงติงสิ่งที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง จนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน

- เป็นประธานกลุ่มเกษตรกร ทำนาเทพราช

- เป็นเลขานุการคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร

- เป็นผู้นำเยาวชนมาร่วมทำกิจกรรมพิธีบูชาพระแม่โพสพ

- เป็นปราชญ์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดอบรมถ่ายทอดความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไปมีเครือข่ายขยายไปในพื้นที่หลายจังหวัดทั่วประเทศ

- เป็นครูฝึกเยาวชน “โครงการเยาวชนสู่ท้องนา” ร่วมกับมหาวิทยาลัยประสานมิตร

ผลงานสร้างคุณประโยชน์

มีผลงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

- เป็นผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ 9 สายพันธุ์ เมื่อแปรรูปแล้วนำมาผสมกัน ตั้งชื่อว่า “ข้าวนพรงค์” และได้ ร่วมกับสำนักงาน การปฏิรูปที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรานำไปถวายสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

- เป็นผู้นำพลังแสงอาทิตย์ (ใช้โซล่าเซล) มาประยุกต์ใช้ทำกับอุปกรณ์รดน้ำต้นไม้

- คิดค้นและพัฒนาการทำนาบก (การทำนาใช้พื้นที่ 17 ตารางเมตรต่อ 1 คน พอกินทั้งปี)

- คิดค้นและพัฒนาการเลี้ยงกุ้งชีวภาพเพื่อลดต้นทุน

- ประดิษฐ์เตาหุงข้าวด้วยแก๊สชีวมวลจากแกลบ และประดิษฐ์โรงสีข้าวด้วยกล้องมือถือ

- เข้าร่วมโครงการเยาวชนสู่ท้องถิ่นเมื่อ พ.ศ. 2517

- เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องลดความชื้นข้าวเปลือกจนได้รับรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์เพื่อการพัฒนา ปี 2525 จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและพลังงาน

มีผลงานเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในการแก้ไขปัญหาและเพื่อการพัฒนา

- นำเครื่องเกี่ยวข้าวโพด “จอมเดีย” มาเกี่ยวข้าวนาปรังที่ ตำบลเทพราชเป็นคนแรกจนมีคนนำไปผลิตเป็นเครื่องนวดข้าวในปัจจุบันมีชาวต่างประเทศมาศึกษาดูงาน

- เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องลดความชื้นข้าวเปลือกจนได้รับรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์เพื่อการพัฒนา ปี 2525 จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและพลังงาน

- กระตุ้นให้กรมข้าว ผลิตพันธุ์ข้าว ต้านโรคเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำให้กรมข้าวได้มาสร้างสถานีทดลองย่อย เพื่อทดลองพันธุ์ข้าวที่ต้านโรคเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพื้นที่นา นายขวัญชัย ที่ตำบลเทพราชเป็นเวลา 10 ปี ประดิษฐ์เตาหุงข้าวด้วยแก๊สชีวมวลจากแกลบ

- ประดิษฐ์เตาหุงข้าวด้วยแก๊สชีวมวลจากแกลบ

- ประดิษฐ์โรงสีข้าวกล้องมือถือ

- เป็นผู้นำพันธุ์ข้าว “หอมนครชัยศรี” มาขยายพันธุ์ เมื่อปี 2518 ปัจจุบันพันธุ์ดังกล่าวมีขายในท้องตลาดทั่วไป ชาวบ้านเรียกข้าวพันธุ์นี้ว่า “ข้าวขาวขวัญชัย”

- เป็นผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ 9 สายพันธุ์ เมื่อแปรรูปแล้วนำมาผสมกันตั้งชื่อว่า “ข้าวนพรงค์” และได้ร่วมกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา นำไปถวายสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

- มีนักวิชาการจากประเทศญี่ปุ่นมาศึกษาดูงานการเลี้ยงกุ้งด้วยน้ำหมักชีวภาพให้โตได้โดยไม่ต้องให้อาหาร จนเกษตรกรนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองเป็นจำนวนมาก

การขยายผลงาน

1. มีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้

- มีศูนย์ถ่ายทอดความรู้ในพื้นที่ มีอุปกรณ์สื่อสาร และเครื่องขยายเสียงและวัตถุดิบสำหรับให้ผู้สนใจได้ฝึกปฏิบัติ เรียนรู้ และทดลองจากของจริง

- จัดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถปรับขั้นตอนกระบวนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน ได้ดี จนได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้กับหน่วยงานต่าง ๆ  เป็นจำนวนมาก

- ปัจจุบันได้เชิญวิทยากรถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก

2. มีการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการในการถ่ายทอดองค์ความรู้

- ทำอุปกรณ์เพื่อใช้ในการถ่ายทอดเพื่อให้ผู้รับการถ่ายทอดเข้าใจได้ดีขึ้น เช่น การทำน้ำสมุนไพรต่าง ๆ การเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติอย่างทั่วถึง เป็นกันเอง รับฟังข้อสรุปที่ดีร่วมกันก่อนที่จะนำไปปรับปรุงพัฒนาให้เกิดความเหมาะสม

- พัฒนาให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีโอกาสเรียนรู้ ผ่านสื่อวีดีทัศน์

- การถ่ายทอดความรู้เน้นสรุปผลได้จากของจริง ที่ผู้เรียนสัมผัสได้

3. มีความสามารถในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้

- มีเกษตรและผู้สนใจเข้าร่วมเครือข่าย ทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด เป็นจำนวนมาก เช่น จังหวัดสกลนคร อำนาจเจริญ ยโสธร พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ศรีสะเกษ เชียงใหม่ และจังหวัดนครปฐม เป็นต้น และได้ร่วมกับผู้รู้ทั่วไป และนักวิชาการจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงเพื่อร่วมกัน ปรับปรุงพัฒนา ผลงานก้าวหน้า เหมาะสมกับผู้ใช้ และพื้นที่

- เป็นปราชญ์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดอบรมถ่ายทอดความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไปมีเครือข่ายขยายไปในพื้นที่หลายจังหวัดทั่วประเทศ

- เป็นครูฝึกเยาวชน “โครงการเยาวชนสู่ท้องนา” ร่วมกับมหาวิทยาลัยประสานมิตร

4. มีการเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์องค์ความรู้

- มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ องค์ความรู้ผ่านสถานีโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุชุมชนหอกระจายข่าว บทความ วารสารทั่วไป การอบรมสัมมนา จัดนิทรรศการ และหน่วยงานราชการได้จัดเป็นงานวิจัยในหลายๆ เรื่อง เช่น การทำนาโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี การเลี้ยงปลา กุ้งอินทรีย์ การทำปุ๋ยชีวภาพการทำชาจากดอกบัวหลวงเพื่อสุขภาพ

5. เป็นผู้มีการติดตามประเมินผลการถ่ายทอดองค์ความรู้

- มีการติดตามผลการถ่ายทอดความรู้ภายหลังจากที่ได้ให้ความรู้ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพ และข้อเท็จจริงของพื้นที่ นั้น ๆ

- ในทุกพื้นที่ที่ได้ไปถ่ายทอดความรู้ จะมีการติดตามผลและส่งเสริมให้ผู้ผ่านการอบรมได้รวมกลุ่มสร้างเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็ง

- มีหลักฐานการได้เดินทางไปติดตามงานในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ 

 

ตกลง