นายโชคดี ปรโลกานนท์
21 ก.ค. 2560
18,819
3,190
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2556
นายโชคดี ปรโลกานนท์
นายโชคดี ปรโลกานนท์

นายโชคดี ปรโลกานนท์ ทำงานในบทบาทของนักพัฒนาภาคเอกชน ร่วมกับนายนิคม พุทธา เจ้าหน้าที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ที่เข้ามา ดำเนินงานโครงการพัฒนาชนบทเพื่อการอนุรักษ์ชุมชนรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นายโชคดี ปรโลกานนท์ริเริ่มงานพัฒนาในภาคเอกชน ในบทบาทของนักส่งเสริมการเกษตรของโครงการและขณะเดียวกันก็ได้ฟื้นฟูที่ดินของตนเอง สร้างสวนเกษตรกรรมยั่งยืน รูปแบบวนเกษตร โดยได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม และปราชญ์ชาวบ้านหลายคนจากโอกาสที่ได้นำพาชาวบ้านในโครงการพัฒนาชนบทเพื่อการอนุรักษ์ชุมชนรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไปเรียนรู้ศึกษาดูงาน

อายุ              55 ปี

การศึกษา       ปริญญาตรีที่ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ จ.เชียงใหม่

สถานภาพ      สมรส มีบุตร 2 คน

ที่อยู่              บ้านเลขที่ 15 หมู่ที่ 6 บ้านคลองทุเรียน ตำบลวังน้ำเขียว 

                    อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา 30370

โทรศัพท์        081-999-7468

อาชีพ            เกษตรกรรม

คุณลักษณะส่วนบุคคล ปี พ.ศ. 2533-2537 นายโชคดี ปรโลกานนท์ ได้ทำงานในบทบาทของนักพัฒนาภาคเอกชน ร่วมกับนายนิคม พุทธา เจ้าหน้าที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ที่เข้ามา ดำเนินงานโครงการพัฒนาชนบทเพื่อการอนุรักษ์ชุมชนรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นายโชคดี ปรโลกานนท์ริเริ่มงานพัฒนาในภาคเอกชน ในบทบาทของนักส่งเสริมการเกษตรของโครงการและขณะเดียวกันก็ได้ฟื้นฟูที่ดินของตนเอง สร้างสวนเกษตรกรรมยั่งยืน รูปแบบวนเกษตร โดยได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม และปราชญ์ชาวบ้านหลายคนจากโอกาสที่ได้นำพาชาวบ้านในโครงการพัฒนาชนบทเพื่อการอนุรักษ์ชุมชนรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไปเรียนรู้ศึกษาดูงาน

สภาพปัญหาการพัฒนาตามนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 ที่มุ่งส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง ในพื้นที่และปัญหานโยบายการจัดการป่าไม้ที่ดินโครงการ คจก. ซึ่งมีความพยายามที่จะอพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ทำกินและจัดสรรพื้นที่ทำกินให้ใหม่ ในขณะที่เป้าหมายของการทำงานโครงการที่นายโชคดี เข้ามาทำงานในขณะนั้นมุ่งส่งเสริมการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ป่าต้นน้ำลดการใช้ประโยชน์จากป่าด้วยการทำลาย เรียนรู้จากการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืนรู้จักการจัดการทรัพยากรในชุมชน สร้างบทเรียนส่งเสริมการจัดการป่าชุมชนที่บ้านท่าวังไทร เรียนรู้การพึ่งตนเองในอาชีพเกษตร และได้นำแนวคิด วนเกษตรมาใช้ส่งเสริมในพื้นที่แปลงเกษตรของชาวบ้านในโครงการร่วมดำเนินงานในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ 50 ปี พ.ศ. 2537-2539 นายโชคดี ปรโลกานนท์ นายนิคม พุทธา และนายอรทัย โจษกลาง  ในบทบาทของนักพัฒนาภาคเอกชนในนามของเจ้าหน้าที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้เข้าร่วมโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาส ที่ทรงครองราชย์ปี 50 ซึ่งรัฐบาลในเวลานั้นเปิดโอกาสให้ประชาชน ภาคเอกชน บริษัทและรัฐวิสาหกิจต่างๆเข้าร่วมโครงการปลูกป่าฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำลำธาร นายโชคดี ปรโลกานนท์ เป็นผู้ลงนามจองแปลงปลูกป่า เอฟ พี ที 50 เขาแผงม้า กิ่ง อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ในจำนวนพื้นที่ 11,250 ไร่ โดยมีนายนิคม พุทธา ทำหน้าที่ประสานงานหางบประมาณมาดำเนินโครงการและนายอรทัย โจษกลางประสานงานกับชุมชนรอบพื้นที่เขาแผงม้าและประชาชนใน กิ่ง อ.วังน้ำเขียว ชักชวนชาวบ้านมาร่วมงานโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ 50 ปี การดำเนินงานโครงการปลูกป่าที่เขาแผงม้าดำเนินการได้ในพื้นที่ 5,000 ไร่ หลังจากที่ดำเนินการปลูกฟื้นฟูป่า ได้ส้รางให้เกิดพื้นที่แหล่งที่อยู่อาศัยหากินของสัตว์ป่า โดยเฉพาะที่เขาแผงม้ามีกระทิงในธรรมชาติได้เข้ามาอาศัยหากินและเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนเกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวดูสัตว์ป่า แหล่งศึกษากระบวนการฟื้นป่าเป็นห้องเรียนธรรมชาติที่มีนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว มาใช้พื้นที่ในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยได้ส่งมอบพื้นที่ในปี 2545 และปัจจุบันประกาศเป็นพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาแผงม้า

ผลงานสร้างคุณประโยชน์ นายโชคดี ปรโลกานนท์ในบทบาทของหัวหน้าโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเข้าอยู่หัวฯ พื้นที่เขาแผงม้า เอฟ พี ที 52 ได้ขยายผลการดำเนินงานโครงการปลูกป่า อีก 2 พื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชนบริจาคงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่องคือ

1. พ.ศ. 2538-2540 พื้นที่โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ เอฟ พี ที 5 คลองปลากั้ง ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จำนวนพื้นที่ 5,200 ไร่ ปัจจุบันป่ากำลังฟื้นตัวและเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของพื้นที่ลุ่มน้ำลำพระเพลิง เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งที่อยู่อาศัยของกระทิง โดยได้ส่งมอบพื้นที่ให้อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ดูแลพื้นที่เมื่อปี 2540

2. พ.ศ. 2540-2543 พื้นที่โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ เอฟ พี ที 12/2 มูนหลง-มูนสามง่าม ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน จำนวนพื้นที่ 10,000 ไร่ ปัจจุบันป่ากำลังฟื้นตัวและเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของพื้นที่ลุ่มน้ำมูนตอนบน โดยได้ส่งมอบพื้นที่ให้อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ดูแลพื้นที่เมื่อปี 2543 หลักคิดในการทำงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติคือฟื้นฟูป่าต้นน้ำนำหลักการของระบบป่าธรรมชาติมาใช้สร้างให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ปลูกป่า มีความหลากหลายของพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศ เป็นแหล่งเก็บรักษาพันธุกรรมท้องถิ่นและ สร้างการเรียนรู้ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการฟื้นฟูป่า

งานขยายผลเกษตรกรรมยั่งยืน รูปแบบวนเกษตร พ.ศ. 2543-2545 นายโชคดี ปรโลกานนท์ เป็นหัวหน้าโครงการหมู่บ้าน ปตท.พัฒนา โดยนำแนวคิดวนเกษตร ที่ขยายผลมาจากโครงการพัฒนาชนบทเพื่อการอนุรักษ์มาขยายผลส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายโครงการหมู่บ้าน ปตท.พัฒนา 3 พื้นที่ ทับลาน จ.นครราชสีมา, พื้นที่ แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี, พื้นที่ กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษาป่า และส่งเสริมอาชีพเกษตรพึ่งพาตนเองลดการใช้ปัจจัยภายนอก หลีกเลี่ยง และปฏิเสธปุ๋ยเคมี สารเคมีในการเกษตร สร้างการเรียนรู้ สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายชุมชน เกิดกลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำมูน

การขยายผลงาน พ.ศ. 2546-2547 ผู้ประสานงานอนุรักษ์ธรรมชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

-        โครงการการจัดการร่วมพื้นที่พิเศษเขาแผงม้า สร้างแผนแม่บทในการจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วม (MANAMRAIN) ในพื้นที่เขาแผงม้า เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ปี 2540 เรื่องสิทธิชุมชนในการจัดการ มาตรา 46 และมาตรา 56

พ.ศ. 2548-2550

-   โครงการอนุรักษ์และวิจัยกระทิงเขาแผงม้า เก็บรวบรวมผลข้อการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศโดยรวมของเขาแผงม้าทั้งสังคมพืชและสังคมสัตว์

-   โครงการห้องเรียนธรรมชาติ ค่ายเยาวชนกระทิงน้อย นำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการฟื้นฟูป่าเขาแผงม้าเก็บรวบรวมผลข้อการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศโดยรวมของเขาแผงม้าทั้งสังคมพืชและสังคมสัตว์ จัดกิจกรรมสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนทั่วประเทศในรูปแบบกิจกรรมค่ายเยาวชนได้มาศึกษาเรียนรู้เสริมสร้างจิตสำนึกให้สังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม

-   โครงการส่งเสริมเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพื้นที่ต้นน้ำมูนตอนบน ลำพระเพลิง และโครงการ เครือข่ายการเรียนรู้ทางเลือกวิถีชีวิตท้องถิ่นยั่งยืน แนวคิดสร้างหลักสูตรเรียนรู้ท้องถิ่นนำเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นมาเรียนรู้เรื่องเขาแผงม้าเรียนรู้เรื่องวิถีชีวิตในท้องถิ่นทางออกของวิถีชีวิตท้องถิ่นยั่งยืน    พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน

-   โครงการเรารักษ์น้ำแม่มูน ดำเนินงานในนามกลุ่มอนุรักษ์เขาแผงม้าสนับสนุนกิจกรรมการดูแลพื้นที่โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติเขาแผงม้า มีงานดูแลป้องกันไฟป่า ทำแนวกันไฟ ปลูกป่าเสริม สร้างฝายชะลอน้ำและจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์กระทิง ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ท้องถิ่น มีกิจกรรมค่ายเยาวชนกระทิงน้อยเรารักแม่น้ำมูนหนุนเสริมและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์แม่มูน ร่วมกับโรงเรียนและชุมชนท้องถิ่นตลอดสายน้ำ

-   งานศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น หนุนเสริมงานฝึกอบรมเกษตรกรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมเครือข่ายการเรียนรู้ปราชญ์เกษตร

-   เป็นประธานกลุ่มอนุรักษ์เขาแผงม้า ดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อการอนุรักษ์กระทิง ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ในพื้นที่เขาแผงม้า และส่งเสริมการเรียนรู้ท้องถิ่น ในพื้นที่ต้นน้ำมูนตอนบน และส่งเสริมการเรียนรู้โครงการ โรงเรียน บ้านป่า และเครือข่าย โรงเรียนเรารักษ์น้ำแม่มูน

-   เป็นเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผลจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึงปัยยุบันได้ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ในท้องถิ่นร่วมกับกลุ่มครูเด็กนักเรียนและเยาวชน เกิดเครือข่ายเยาวชนกระทิงน้อยรักษ์น้ำแม่มูน และได้ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ท้องถิ่น ส่งเสริมเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ในชุมชนนิคมเศรษฐกิจพอเพียงวังน้ำเขียว จากฐานแนวคิดเกษตรกรรมยั่งยืนแหล่งเรียนรู้สวนลุงโชค โดยนายโชคดี ปรโลกานนท์ ได้ขยายผลแนวคิดวนเกษตรในพื้นที่สวนลุงโชค พัฒนายกระดับพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ครูเกษตรเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรในโครงการฟื้นฟูและพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและยังเป็นศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา จัดทำแผนฝึกอบรมให้เกษตรกร ตามโครงการพัฒนาเกษตรกรตามแนวทางทฤษฎีใหม่ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงงานสนับสนุนการเรียนรู้ชุมชนด้านการเกษตรสวนลุงโชค เป็นต้นแบบในการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมโดยร่วมกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ดำเนินการโครงการขยายผลองค์ความรู้ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ซึ่งได้มีการขยายผลองค์ความรู้ไปสู่สมาชิกชุมชนปราชญ์ เกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดทักษะชีวิต และนำวิถีแห่งความพอเพียง มาเป็นเป้าหมาย เป็นหลักคิดแห่งการดำเนินชีวิต

ในปี พ.ศ. 2554 แหล่งเรียนรู้เกษตรกรเพื่อการพึ่งตนเองและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น(สวนลุงโชค) ได้รับการส่งเสริมให้เป็นเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเป็นสถานที่รวบรวมองค์ความรู้เกษตรกรรม เป็นแหล่งศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงาน แสดงนิทรรศการงานด้านแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

บทบาทในปัจจุบัน

-          ที่ปรึกษาคณะทำงานเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ท้องถิ่น สวนลุงโชค

-          ที่ปรึกษาโครงการเครือข่ายการเรียนรู้ทางเลือกวิถีชีวิตท้องถิ่นยั่งยืน

-          ที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์ต้นมูน ที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์นิคมเศรษฐกิจพอเพียงวังน้ำเขียว

-        ปราชญ์ชาวบ้าน โครงการพัฒนาเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านโดยสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

-        ครูเกษตรกร สำนักงาน ธ.ก.ส. จ.นครราชสีมา

-        เป็นพื้นที่ภาคีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

-        ประธานมูลนิธิเกษตรเพื่อการพึ่งตนเองและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น(สวนลุงโชค)

 

ตกลง