นายสุทัศน์ รอดคลองตัน
23 มิ.ย. 2563
21,231
1,882
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2563
นายสุทัศน์ รอดคลองตัน
นายสุทัศน์ รอดคลองตัน

 

นายสุทัศน์ รอดคลองตัน มีประสบการณ์ในการทำการเกษตร และดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 48 ปี สามารถเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นได้กว่า 24 ปี นายสุทัศน์ใช้ชีวิตแบบพอเพียง พอดี พอประมาณ ไม่มีหนี้สิน ทำการเกษตรแบบพอเพียงตามวิถีชาวบ้าน ใช้แรงงานจากสมาชิกในครอบครัว รู้จักคิดวิเคราะห์ หาเหตุผล หาสาเหตุ เพื่อแก้ปัญหา โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากร ที่มีอยู่ในชุมชน ศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้ และทดลองปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา ลดการใช้สารเคมี ปรับรูปแบบการทำเกษตรเชิงเดี่ยว  มาเป็นเกษตรผสมผสาน ทำให้ลดต้นทุนการผลิต สามารถพึ่งพาตนเอง จนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน นอกจากนี้ยังอาสาช่วยเหลือทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและสังคม โดยสมัครใจและไม่หวังสิ่งตอบแทน เป็นแกนนำในการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการติดต่อประสานงานกับเกษตรกร เพื่อพัฒนา    ภาคการเกษตรในภาพรวม รวมถึงเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ โดยสอนด้วยวิธีลงมือปฏิบัติให้เห็นผล  อย่างแท้จริง และอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน สำหรับกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ ประกอบด้วย การทำนา การทำสวนไม้ผล (มะม่วง มะพร้าว อินทผาลัม เป็นต้น) การปลูกพืชผักสวนครัว การเลี้ยงปลา (ปลาหมอ ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาสลิด) การเลี้ยงกบ การเลี้ยงกุ้งขาว การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงแพะเนื้อ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยหมักน้ำ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ การเผาถ่าน การผลิตน้ำส้มควันไม้ การผลิตแก๊สชีวภาพใช้ในครัวเรือน และการประดิษฐ์เครื่องมือภาคการเกษตรใช้เอง อาทิเช่น เครื่องคัดและนับมะนาว เครื่องคัดแยกข้าวกล้อง   เครื่องขอดเกล็ดปลา เป็นต้น

สาขา ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง

นายสุทัศน์ รอดคลองตัน

อายุ                        67 ปี

การศึกษา                  ประถมศึกษาปีที่ 4

สถานภาพ                 สมรส

ที่อยู่                        บ้านเลขที่ 34/1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองตัน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร 76150

โทรศัพท์                   034-858-233 ,08-6178-2209

อาชีพ                      เกษตรกร

คุณลักษณะส่วนบุคคล

นายสุทัศน์ รอดคลองตัน มีประสบการณ์ในการทำการเกษตร และดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 48 ปี สามารถเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นได้กว่า 24 ปี นายสุทัศน์ใช้ชีวิตแบบพอเพียง พอดี พอประมาณ ไม่มีหนี้สิน ทำการเกษตรแบบพอเพียงตามวิถีชาวบ้าน ใช้แรงงานจากสมาชิกในครอบครัว รู้จักคิดวิเคราะห์ หาเหตุผล หาสาเหตุ เพื่อแก้ปัญหา โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากร ที่มีอยู่ในชุมชน ศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้ และทดลองปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา ลดการใช้สารเคมี ปรับรูปแบบการทำเกษตรเชิงเดี่ยว  มาเป็นเกษตรผสมผสาน ทำให้ลดต้นทุนการผลิต สามารถพึ่งพาตนเอง จนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน นอกจากนี้ยังอาสาช่วยเหลือทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและสังคม โดยสมัครใจและไม่หวังสิ่งตอบแทน เป็นแกนนำในการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการติดต่อประสานงานกับเกษตรกร เพื่อพัฒนา    ภาคการเกษตรในภาพรวม รวมถึงเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ โดยสอนด้วยวิธีลงมือปฏิบัติให้เห็นผล  อย่างแท้จริง และอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน สำหรับกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ ประกอบด้วย การทำนา การทำสวนไม้ผล (มะม่วง มะพร้าว อินทผาลัม เป็นต้น) การปลูกพืชผักสวนครัว การเลี้ยงปลา (ปลาหมอ ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาสลิด) การเลี้ยงกบ การเลี้ยงกุ้งขาว การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงแพะเนื้อ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยหมักน้ำ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ การเผาถ่าน การผลิตน้ำส้มควันไม้ การผลิตแก๊สชีวภาพใช้ในครัวเรือน และการประดิษฐ์เครื่องมือภาคการเกษตรใช้เอง อาทิเช่น เครื่องคัดและนับมะนาว เครื่องคัดแยกข้าวกล้อง   เครื่องขอดเกล็ดปลา เป็นต้น

ผลงานสร้างคุณประโยชน์

องค์ความรู้ที่โดดเด่น ได้แก่ การเพาะพันธุ์และอนุรักษ์พันธุ์ปลาหมอไทย ซึ่งสามารถเพาะพันธุ์ได้สูงสุด จำนวน ๕ ล้านตัวต่อปี โดยส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะพันธุ์อย่างแพร่หลาย จนเป็นที่นิยมสามารถส่งขาย            ได้ในต่างประเทศ อาทิเช่น จีน บังกลาเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น และมีการเลี้ยงปลาหมอร่วมกับกบ เพื่อช่วยในการปรับปรุงสภาพน้ำ ทำให้ได้รับการยกย่องเป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด นอกจากนี้    นายสุทัศน์ยังมีองค์ความรู้ในด้านการจัดการที่ดิน โดยมีการทำนาข้าวสลับกับการเลี้ยงปลาและกุ้งในพื้นที่เดิม  เพื่อเพิ่มแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน และทำให้ดินมีความร่วนซุยมากขึ้น จนได้รับคัดเลือกเป็นคลังเกษตรภูมิปัญญา     ของจังหวัดสมุทรสาคร เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจ ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด ตั้งแต่ปี 2544 จนได้รับการจัดตั้งให้เป็นศูนย์การเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของกรมปศุสัตว์ ศูนย์เรียนรู้ด้านการประมงและแปลงสาธิตโครงการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกของ     กรมประมง แปลงใหญ่แพะของจังหวัดสมุทรสาครและศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ด้านการประมงประจำจังหวัดของกรมส่งเสริมการเกษตร และศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน

การขยายผลงาน

นายสุทัศน์ ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ประกอบด้วย กลุ่มพลังชุมชนคนคลองตัน และโรงสีข้าวชุมชน (ด้านพืช) กลุ่มธรรมชาติเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจังหวัดสมุทรสาคร (ด้านประมง) และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน    แปลงใหญ่แพะสมุทรสาคร (ด้านสัตว์) โดยสนับสนุนให้สมาชิกภายในกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน    มีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน รวมถึงเพิ่มอำนาจต่อรองในการซื้อปัจจัยการผลิตและการขายผลผลิตของกลุ่ม นายสุทัศน์   มีการถ่ายทอดผลงานผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และวารสารต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และยังเป็นที่ศึกษา    ดูงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัด รวมถึงมีคณะศึกษาดูงานจากต่างประเทศ อาทิเช่น เกาหลีใต้ (Korea International Cooperation Agency : KOICA) จีน บังกลาเทศ เวียดนาม ลาว เป็นต้น เข้ามาศึกษาดูงานในพื้นที่และนำไปต่อยอดในประเทศของตนเอง โดยเฉพาะองค์ความรู้ในเรื่องการเพาะเลี้ยงปลาหมอ เนื่องจากเป็นปลาสายพันธุ์ใหม่ เลี้ยงง่าย และยังไม่เป็นที่นิยมเพาะเลี้ยงในต่างประเทศ

 

 

ตกลง