นายสุชล สุขเกษม
31 มี.ค. 2564
34,679
8,321
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2564
นายสุชล สุขเกษม
นายสุชล สุขเกษม

นายสุชล สุขเกษม มีประสบการณ์ในการทำงานภาคเกษตร 17 ปี เป็นผู้ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจ พอเพียงมาเป็นระยะเวลา 16 ปี และสามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ 16 ปี ในช่วงปี 2552 ทำการเกษตรแบบผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน และในปี2556 สามารถสร้างรายได้ในพื้นที่ 1 ไร่
มีรายได้ 2 แสนบาท โดยศึกษาจากโครงการพระราชดำริต่างๆ ของ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มหาราชบรมนาถบพิตร
รวมถึงค้นคว้าฝึกอบรม และนำความรู้ต่างๆ ที่ได้รับ มาปรับใช้ลงมือทำในพื้นที่ 1 ไร่ ของตนเอง
โดยยึดพระราชดำรัส
ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในเรื่องหลักการทรงงาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และผสมผสานองค์ความรู้และ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำการเกษตรสำหรับกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ ประกอบด้วย การปลูกพืชแบบผสมผสาน การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงเป็ดไข่ การเลี้ยงแพะเนื้อ การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ การเลี้ยงชันโรง
การเลี้ยงไส้เดือน นอกจากนี้ยังมีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การทำไข่เค็มรสชาติต่างๆ เช่น ไข่เค็มรสต้มยำ
ไข่เค็มรสกาแฟ การทำกล้วยแปรรูป การทำน้ำยาชนิดต่างๆ เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม และน้ำยาถูพื้นไล่ยุง โดยใช้แรงงานจากสมาชิกในครอบครัว รวมถึงมีการทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีฟาร์ม จนในปัจจุบันในพื้นที่
1 ไร่ สามารถสร้างรายได้ถึง 2 แสนบาท โดยแบ่งเป็นรายได้ประจำวัน รายได้ประจำสัปดาห์ รายได้ประจำเดือนและรายได้ประจำปี
สามารถพึ่งตนเองได้และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน

คุณลักษณะส่วนบุคคล

นายสุชล สุขเกษม มีประสบการณ์ในการทำงานภาคเกษตร 17 ปี เป็นผู้ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจ พอเพียงมาเป็นระยะเวลา
16 ปี
และสามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ 16 ปี ในช่วงปี 2552
ทำการเกษตรแบบผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน และในปี 2556 สามารถสร้างรายได้
ในพื้นที่ 1 ไร่ มีรายได้ 2 แสนบาท โดยศึกษาจากโครงการพระราชดำริต่างๆ ของ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร
รวมถึงค้นคว้า ฝึกอบรม และนำความรู้ต่างๆ ที่ได้รับ มาปรับใช้ลงมือทำในพื้นที่ 1 ไร่ ของตนเอง โดยยึดพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9
ในเรื่องหลักการทรงงาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และผสมผสานองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำการเกษตร สำหรับกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ ประกอบด้วย การปลูกพืชแบบผสมผสาน การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงเป็ดไข่ การเลี้ยงแพะเนื้อ การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ การเลี้ยงชันโรง การเลี้ยงไส้เดือน นอกจากนี้ยังมีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การทำไข่เค็มรสชาติต่างๆ เช่น ไข่เค็มรสต้มยำ ไข่เค็มรสกาแฟ การทำกล้วยแปรรูป การทำน้ำยาชนิดต่างๆ เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม และน้ำยาถูพื้นไล่ยุง โดยใช้แรงงานจากสมาชิกในครอบครัว รวมถึงมีการทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีฟาร์ม จนในปัจจุบันในพื้นที่
1 ไร่ สามารถสร้างรายได้ถึง 2 แสนบาท โดยแบ่งเป็นรายได้ประจำวัน รายได้ประจำสัปดาห์ รายได้ประจำเดือนและรายได้ประจำปี สามารถพึ่งตนเองได้และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน

ผลงานสร้างคุณประโยชน์

          นายสุชล ได้พัฒนารูปแบบการพัฒนาพื้นที่ 1 ไร่ 2 แสนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการทำการเกษตรแบบผสมผสาน
เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน คือ
ทุกกิจกรรมมีความเกื้อกูลกันเอื้อประโยชน์ต่อกันระหว่างพืชและสัตว์ ใช้ทุกอย่างในแปลงเกษตรให้คุ้มค่า
(
Zero Waste Agriculture) มีการปลูกพืชแบบผสมผสานโดยทำ การปลูกพืชเป็นขั้นบันได พืชเตี้ยปลูกทางทิศตะวันออกไล่ไปเรื่อยๆ จนถึงพืชที่สูงที่สุดจะปลูกทางทิศตะวันตก เพื่อให้พืชได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง การทำสลักกั้นน้ำเพื่อเก็บน้ำจืดไว้ใช้ในแปลง และคลองไส้ไก่เพื่อใช้สำหรับหมักมูลสัตว์ใช้เป็นปุ๋ยน้ำบำรุงดินในพื้นที่ ประยุกต์การเลี้ยงหมูหลุมมาเป็นการเลี้ยงไก่หลุม เพื่อให้ได้ปุ๋ยขี้ไก่      ทุ่นแรงในการคุ้ยเพราะไก่จะคุ้ยเองวันละประมาณ 12 ชั่วโมง การคิดค้นการเลี้ยงไก่ในตะกร้าบนต้นไม้          โดยนำไก่ไข่พันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์เรดที่สามารถปรับตัวได้ไวมาเลี้ยงในตะกร้าตั้งแต่เล็ก นอกจากจะประหยัดพื้นที่ในการเลี้ยงแล้วขี้ไก่ยังหล่นมาเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นไก่ชิงช้าสวรรค์ เพื่อประหยัดพื้นที่ในการเลี้ยงไก่และสะดวกในการเก็บไข่ การเลี้ยงนกกระทาบนบ่อปลาดุก เพราะขี้ของนกกระทาจะมีขนาดเล็กกว่าขี้ไก่ ทำให้ปลากินได้หมด ส่งผลให้น้ำไม่เน่าเสีย การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในตะกร้า เพื่อแก้ปัญหาเวลาลอกคราบกุ้งมักจะกินกันและลดความเครียดของกุ้ง การสร้างรายได้จากการทำการเกษตรแบบผสมผสานให้รายได้รายวัน เช่น ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา และดอกมะลิ มีรายได้ต่อปีประมาณ 150,000 บาท รายได้รายสัปดาห์ เช่น จำหน่ายพันธุ์พืช ได้แก่ กิ่งพันธุ์มะนาว พันธุ์มะพร้าวน้ำหอม จำหน่ายพันธุ์สัตว์ ได้แก่ ลูกพันธุ์ไก่ไข่ ลูกนก ไส้เดือน และไข่เค็มแปรรูป มีรายได้ต่อปีประมาณ 180,000 บาท รายได้รายเดือน เช่น จำหน่ายผลผลิตมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวผลแก่    ปลา กบ ชันโรง มีรายได้ต่อปีประมาณ 25,000 บาท รายได้รายปี เช่น กุ้งก้ามกรามในตะกร้า มะม่วง ละมุด น้อยหน่า มีรายได้ต่อปีประมาณ 15,000 บาท รวมรายได้สุทธิทั้งปี 370,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายต่อปีประมาณ 170,000 บาท นอกจากนี้ยังเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานภาครัฐ เกษตรกรต้นแบบ Smart Farmer อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน หมอดินอาสา ปศุสัตว์อาสา ครูบัญชีอาสาฯ จนได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ           ในคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดสมุทรสงคราม และคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม

การขยายผลงาน

มีการรวมกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสารภี เพื่อแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ การทำไข่เค็ม การทำกล้วยหักมุกแปรรูป การทำน้ำยาชนิดต่างๆ สร้างรายได้เพิ่มให้กับคนในชุมชน และมีเกษตรกรจังหวัดต่างๆ เช่น ราชบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี เข้ามาศึกษาดูงาน และนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง จนกลายเป็นเครือข่าย เชื่อมโยงกัน นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้บ้านสารภีบนพื้นที่ของตนเอง โดยมีฐานเรียนรู้ทั้งหมด 70 ฐาน แบ่งฐานเรียนรู้ออกเป็น 4 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 สุขภาพชุมชน หมวดที่ 2 พลังงานทดแทน หมวดที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียง และ หมวดที่ 4 การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร มี QR Code คลิปวีดิโอบรรยาย 5 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ในแต่ละฐานเรียนรู้ ได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรด้านเกษตรผสมผสาน ของกรมส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และศูนย์ศึกษาการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) มีเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา บุคคลที่สนใจ สถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และหน่วยงานภาครัฐ ประมาณเดือนละ 5,000 คน เข้ามารับการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน วิจัย ฝึกงาน และใช้บริการ มีคณะศึกษาดูงานจากประเทศต่างๆ เช่น ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย จีน ไต้หวัน มองโกเลีย ภูฏาน ออสเตรเลีย ฟิจิ ตองกา รวมถึงได้รับคัดเลือกให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้แทน GI (Geographical Indicator) โดยมีผู้แทนจาก 90 ประเทศเข้ามาศึกษาดูงาน และเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ด้านการเกษตรของผู้นำด้านการเกษตรในกลุ่มประเทศประชาคมอาเซียน (AEC)

 

ตกลง