นายสิทธิพงษ์ อรุณรักษ์
31 มี.ค. 2564
4,035
1,246
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2564
นายสิทธิพงษ์ อรุณรักษ์
นายสิทธิพงษ์ อรุณรักษ์

          นายสิทธิพงษ์  อรุณรักษ์ มีประสบการณ์ในการทำงานภาคเกษตร 33 ปี และเป็นผู้ดำเนินชีวิต     ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 17 ปี และสามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ 16 ปี ในอดีต    นายสิทธิพงษ์และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดในพื้นที่ ทำการเกษตรตามวิถีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติมา ต่อมาได้ประสบปัญหาผลผลิตด้อยคุณภาพ และมีปริมาณที่มากเกินความต้องการของตลาด ส่งผลให้ถูกกดราคาจากพ่อค้า จึงศึกษาหาวิธีเพิ่มอำนาจในการต่อรองกับพ่อค้าให้ผลผลิตมีราคาที่สูงขึ้น จนกระทั่งในปี 2545       จึงได้ริเริ่มและเป็นผู้นำในการชักชวนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดในตำบลท่ามะพลาให้มารวมกลุ่มกันผลิตมังคุดที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด โดยยึดหลักปรัชญาหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ  พระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร มาประยุกต์ใช้ต่อยอดในการบริหารจัดการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อนำแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้ในการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรแบบมีคุณภาพ รวมถึงบริหารจัดการกลุ่มอย่างซื่อสัตย์รักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม โดยไม่คิดแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง สำหรับกิจกรรม
ทางการเกษตรในพื้นที่ ประกอบด้วย การปลูกมังคุด ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ทุเรียน และกล้วยเล็บมือนาง
ทำให้มีรายได้ตลอดทั้งปี รวมถึงปลูกพืชอาหารที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น พริก ตะไคร้ มะนาว มะละกอ
พริกไทย ส้มจี๊ด เป็นต้น เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดได้ประโยชน์สูงสุด

คุณลักษณะส่วนบุคคล

          นายสิทธิพงษ์  อรุณรักษ์ มีประสบการณ์ในการทำงานภาคเกษตร 33 ปี และเป็นผู้ดำเนินชีวิต     ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 17 ปี และสามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ 16 ปี ในอดีต    นายสิทธิพงษ์และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดในพื้นที่ ทำการเกษตรตามวิถีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติมา ต่อมาได้ประสบปัญหาผลผลิตด้อยคุณภาพ และมีปริมาณที่มากเกินความต้องการของตลาด ส่งผลให้ถูกกดราคาจากพ่อค้า จึงศึกษาหาวิธีเพิ่มอำนาจในการต่อรองกับพ่อค้าให้ผลผลิตมีราคาที่สูงขึ้น จนกระทั่งในปี 2545       จึงได้ริเริ่มและเป็นผู้นำในการชักชวนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดในตำบลท่ามะพลาให้มารวมกลุ่มกันผลิตมังคุดที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด โดยยึดหลักปรัชญาหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ  พระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร มาประยุกต์ใช้ต่อยอดในการบริหารจัดการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อนำแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้ในการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรแบบมีคุณภาพ รวมถึงบริหารจัดการกลุ่มอย่างซื่อสัตย์รักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม โดยไม่คิดแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง สำหรับกิจกรรม
ทางการเกษตรในพื้นที่ ประกอบด้วย การปลูกมังคุด ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ทุเรียน และกล้วยเล็บมือนาง
ทำให้มีรายได้ตลอดทั้งปี รวมถึงปลูกพืชอาหารที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น พริก ตะไคร้ มะนาว มะละกอ
พริกไทย ส้มจี๊ด เป็นต้น เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดได้ประโยชน์สูงสุด

ผลงานสร้างคุณประโยชน์

นายสิทธิพงษ์ เป็นผู้นำและชักชวนเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดในตำบลท่ามะพลาให้มารวมกลุ่ม โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า กลุ่มปรับปรุงมังคุดเพื่อการส่งออกตำบลท่ามะพลาซึ่งเริ่มแรกมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 15 ราย เพื่อผลิตมังคุดที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด ทำให้สามารถต่อรองราคากับพ่อค้าได้ เปิดโอกาสให้สมาชิกสร้างองค์ความรู้ในการดูแลมังคุดร่วมกัน ตั้งแต่ทำแผนการผลิตมังคุดที่มีคุณภาพ การดูแลบำรุง
ต้นมังคุด การใช้ปุ๋ยต่างๆ ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน และปุ๋ยเคมีตามค่าการวิเคราะห์ของดิน
การเก็บเกี่ยว
และการรวบรวมผลผลิตมังคุดของสมาชิก จนทำให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพและมีปริมาณที่สามารถต่อรองกับพ่อค้าได้ รวมถึงเป็นผู้นำการจำหน่ายมังคุดในรูปแบบการประมูลมาใช้ โดยใช้วัดในชุมชนเป็นสถานที่จัดประมูล ในระยะแรกมีกระบวนการคัดเกรดมังคุดออกเป็น 7 เกรด ได้แก่ มันใหญ่ มันเล็ก มันลาย ดอก ดำ มังกรและจิ๋ว ทำให้จำหน่ายมังคุดได้ในราคาที่สูงกว่าราคาขายในตลาด และสามารถลดต้นทุน
การผลิต ส่งผลให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น ต่อมาได้นำสมาชิกทั้งหมดรวมตัวกันจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนในนาม
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดศูนย์เรียนรู้การเกษตรท่ามะพลาโดยให้สมาชิกร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนากลุ่ม สร้างกฎระเบียบร่วมกัน ศึกษาเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ รวมถึงนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการผลิต จนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับ และในปี 2558 กรมส่งเสริมการเกษตรได้ทำการถอดบทเรียนเรื่องการบริหารจัดการกลุ่มและการผลิตมังคุดคุณภาพเพื่อการส่งออก เพื่อเผยแพร่ความรู้ ในนาม ท่ามะพลาโมเดลปัจจุบันนายสิทธิพงษ์ ดำรงตำแหน่งประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดศูนย์เรียนรู้การเกษตรท่ามะพลา
มีสมาชิกจำนวน 103 ราย เพื่อผลิตมังคุดคุณภาพ โดยสมาชิกทั้งหมดได้รับการรับรองมาตรฐาน
GAP
ของกรมส่งเสริมการเกษตร และได้ตราสัญลักษณ์
Q ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ในปี 2563
จังหวัดชุมพรได้จัดการประชุมเครือข่ายมังคุด โดยมีมติจากที่ประชุมกำหนดมาตรฐานมังคุด    เพื่อการประมูลให้สอดคล้องกับคุณภาพผลผลิตและความต้องการของตลาด แบ่งออกเป็น ๕ เกรด ได้แก่     มันใหญ่ มันเล็ก มันลาย ดอก และดำ โดยในปีเดียวกันราคาประมูลมังคุดเฉลี่ยจากมังคุดทั้ง 5 เกรด        ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดศูนย์เรียนรู้การเกษตรท่ามะพลา อยู่ที่กิโลกรัมละ 47.82 บาท สูงกว่าราคาตลาดที่ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.94 บาท และมูลค่าผลผลิตมังคุดรวมจากการประมูลของกลุ่ม 14,864,642 บาท   เทียบกับมูลค่าผลผลิตมังคุดรวมคิดจากราคาตลาด 4,953,318.51 บาท ทำให้มีส่วนต่างเพิ่มขึ้น จำนวน 9,911,323.49 บาท (ข้อมูล ณ ปี 2563) นอกจากนี้ยังลดต้นทุนการผลิต โดยก่อนมีการรวมกลุ่มผลิตมังคุดคุณภาพต้นทุนการผลิตของสมาชิกอยู่ที่ 12.98 บาทต่อกิโลกรัม หลังมีการรวมกลุ่มต้นทุนการผลิตของสมาชิกลดลงเหลือ 10.77 บาทต่อกิโลกรัม มีการจำหน่ายมังคุดผ่านตลาดเกษตรกรออนไลน์ และมีผู้แทนจำหน่าย คือ MeZFruit รวมถึงมีการสร้าง QR Code ตอบโจทย์ Smart Product เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและคู่ค้า “มังคุดท่ามะพลา กินได้ทุกลูก” นอกจากนี้นายสิทธิพงษ์ ยังได้เป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานภาครัฐ เกษตรกรต้นแบบ Smart Farmer อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน หมอดินอาสา อาสาฝนหลวง ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรจังหวัดชุมพร ประธานแปลงใหญ่จังหวัดชุมพร กรรมการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำจังหวัดชุมพร กรรมการสมาคมไม้ผลจังหวัดชุมพรในตำแหน่งอุปนายกสมาคมไม้ผลจังหวัดชุมพร อีกด้วย

การขยายผลงาน

          ผลงานที่โดดเด่นนอกเหนือจากการรวมกลุ่มการผลิตและจำหน่ายมังคุดด้วยการประมูลที่สร้างรายได้ให้กับสมาชิกแล้ว ยังได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในเรื่องการผลิตมังคุดคุณภาพ เพื่อถ่ายทอดความรู้และขยายผลงาน โดยมีฐานการเรียนรู้ทั้งหมด จำนวน 6 ฐาน และได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรประจำอำเภอ แปลงใหญ่มังคุด วิสาหกิจชุมชนต้นแบบ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ของกรมส่งเสริมการเกษตร มีเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา บุคคลที่สนใจ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และหน่วยงานราชการ เข้ามาฝึกอบรม ศึกษาดูงาน วิจัย ฝึกงานและใช้บริการ มีคณะศึกษาดูงานจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เข้ามาศึกษาดูงาน การขยายเครือข่ายและรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นศูนย์เครือข่ายการผลิตมังคุดคุณภาพ และนำท่ามะพลาโมเดลไปใช้ในอำเภอหลังสวนจำนวน 17 กลุ่ม สมาชิกจำนวน ๑,๓๕๒ ราย ในจังหวัดชุมพรจำนวน 7 กลุ่ม ได้แก่ อำเภอเมืองชุมพรจำนวน ๒ กลุ่ม สมาชิกจำนวน 163 ราย อำเภอพะโต๊ะ 5 กลุ่ม สมาชิกจำนวน 922 ราย รวมสมาชิกทั้งหมดจำนวน ๒,๔๓๗ ราย ในภาคใต้จำนวน ๔๙ กลุ่ม สมาชิกทั้งหมดจำนวน ๓,๗๐๑ ราย และในภาคตะวันออกจำนวน ๔ กลุ่ม สมาชิกทั้งหมดจำนวน ๒,๕๕๕ ราย อีกทั้งมีการถ่ายทอดผลงานผ่านหนังสือพิมพ์ บทความ และสื่อสารออนไลน์ อีกด้วย

ตกลง