นายปรีชา ศิริ
23 มิ.ย. 2563
3,990
734
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2563
นายปรีชา ศิริ
นายปรีชา ศิริ

 

          นายปรีชา ศิริ เกิดในครอบครัวชนเผ่าปกาเกอะญอ มีประสบการณ์ในการทำงานภาคเกษตร และดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 40 ปี ด้วยการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาตนเอง ไม่ก่อภาระหนี้สิน ไม่ยึดติดกับวัตถุนิยม อยู่กินแบบวิถีดั้งเดิม เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีการปลูกฝังลูกหลานให้มีจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์จารีตประเพณีแบบดั้งเดิม    หมั่นศึกษาหาความรู้ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองและชุมชน โดยทำงานและหน้าที่ของตนเอง       อย่างสุดความสามารถ หนักเอาเบาสู้ ไม่เกี่ยงงานหนัก มีน้ำใจ แบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่นทุกอย่างเท่าที่ตนเองทำได้  ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดำเนินชีวิตบนทางสายกลางตามหลักพุทธศาสนา จนสามารถเป็นตัวอย่าง และสามารถถ่ายทอดให้กับสมาชิกในชุมชน รวมถึงมีการรวมกลุ่มให้สมาชิกในชุมชนร่วมกันคิดร่วมสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชน โดยทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และฝ่ายต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาชุมชนของตนเอง กิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ ประกอบด้วย การทำนา การปลูกชาอัสสัม (ชาเมี่ยง) การปลูกกาแฟ การปลูกพลับ การปลูกไม้ผล การปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกสมุนไพร การเลี้ยงไก่ (ไก่ดำ) การเลี้ยงหมู (หมูเหมยซาน) การเลี้ยงปลา (ปลาดุก และปลานิล) การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การแปรรูปผลผลิต ทางการเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย

นายปรีชา ศิริ

อายุ                        65 ปี

การศึกษา                  ศึกษาด้วยตนเอง

สถานภาพ                 สมรส

ที่อยู่                        บ้านเลขที่ 9 บ้านห้วยหินลาดใน หมู่ที่ 7

ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า

จังหวัดเชียงราย 57170

โทรศัพท์                   08-5713-2533

อาชีพ                      เกษตรกร

คุณลักษณะส่วนบุคคล

          นายปรีชา ศิริ เกิดในครอบครัวชนเผ่าปกาเกอะญอ มีประสบการณ์ในการทำงานภาคเกษตร และดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 40 ปี ด้วยการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาตนเอง ไม่ก่อภาระหนี้สิน ไม่ยึดติดกับวัตถุนิยม อยู่กินแบบวิถีดั้งเดิม เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง        ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีการปลูกฝังลูกหลานให้มีจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์จารีตประเพณีแบบดั้งเดิม    หมั่นศึกษาหาความรู้ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองและชุมชน โดยทำงานและหน้าที่ของตนเอง       อย่างสุดความสามารถ หนักเอาเบาสู้ ไม่เกี่ยงงานหนัก มีน้ำใจ แบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่นทุกอย่างเท่าที่ตนเองทำได้  ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดำเนินชีวิตบนทางสายกลางตามหลักพุทธศาสนา จนสามารถเป็นตัวอย่าง และสามารถถ่ายทอดให้กับสมาชิกในชุมชน รวมถึงมีการรวมกลุ่มให้สมาชิกในชุมชนร่วมกันคิดร่วมสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชน โดยทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และฝ่ายต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาชุมชนของตนเอง กิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ ประกอบด้วย การทำนา การปลูกชาอัสสัม (ชาเมี่ยง) การปลูกกาแฟ การปลูกพลับ การปลูกไม้ผล การปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกสมุนไพร การเลี้ยงไก่ (ไก่ดำ) การเลี้ยงหมู (หมูเหมยซาน) การเลี้ยงปลา (ปลาดุก และปลานิล) การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การแปรรูปผลผลิต ทางการเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ผลงานสร้างคุณประโยชน์

นายปรีชา เป็นผู้นำชุมชนบ้านห้วยหินลาดใน ในการจัดการตัวเองอย่างยั่งยืนและสมดุล ทั้งในด้านการจัดการทรัพยากร (ดิน น้ำ และป่า) ด้านระบบการผลิตไร่หมุนเวียน (การปลูกพืชหมุนเวียนในพื้นที่เดิม โดยปลูกข้าวผสมกับพืชอาหาร และปลูกพืชรายได้ร่วมกับป่า) และด้านอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม (การสืบทอดสู่รุ่นลูกหลาน) โดยกิจกรรมที่ทำเป็นการสร้างพื้นที่ป่า และส่งเสริมให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังจัดให้มีการประชุมร่วมกันในชุมชน สร้างกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อชุมชน อาทิเช่น การทำแนวกันไฟป่า การทำประปาภูเขา การสร้างอาชีพเสริม และการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชน โดยหักจากรายได้โฮมสเตย์ของสมาชิกในชุมชน เพื่อเป็นทุนช่วยเหลือให้แก่สมาชิก ในยามเจ็บป่วย มีการถ่ายทอดอุดมการณ์สู่คนรุ่นใหม่ให้ดำรงชีวิตตามวิถีดั้งเดิมของชนเผ่าปกาเกอะญอควบคู่กับการอนุรักษ์ชุมชน รวมถึงเป็นตัวอย่างรูปธรรมด้านการจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ และป่า โดยทำการเกษตรในรูปแบบวนเกษตร จนเป็นแหล่งคาร์บอนเครดิตของจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะการจัดการทรัพยากรป่า จำนวน 10,000 กว่าไร่ และแบ่งเป็นพื้นที่ทำกิน จำนวน 600 กว่าไร่ โดยมีชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เข้ามาถอดบทเรียนและนำไปเป็นต้นแบบในการจัดการชุมชนของตนเอง  นอกจากนี้ยังเป็นคณะกรรมการรางวัลลูกโลกสีเขียว ภาคเหนือ ของสถาบันลูกโลกสีเขียว และคณะกรรมการโครงการวิจัย Living in the forest : Knowledge and Practices of Karen Community in Northern Thailand ภายใต้โครงการ Humanities across Border : Asia to Africa in the world ของ International Institute for Asian Studies (IIAS), Netherlands สำหรับรางวัลสูงสุดที่เคยได้รับ คือ รางวัล Forest Hero Award ในพื้นที่ Asia and the Pacific ของ United Nations (องค์การสหประชาชาติ) ปี 2556 และ รางวัลลูกโลกสีเขียว 5 ปี แห่งความยั่งยืน ของสถาบันลูกโลกสีเขียว ปี 2548

การขยายผลงาน

ชุมชนบ้านห้วยหินลาดใน เป็นที่ศึกษาวิจัยและศึกษาดูงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ฯลฯ และมีคณะจากต่างประเทศ อาทิเช่น สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ตุรกี ญี่ปุ่น จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ เวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น เข้ามาศึกษาดูงานและวิจัยในชุมชน สำหรับการถ่ายทอดแนวคิดและบทเรียนของชุมชนบ้านห้วยหินลาดใน ได้มีเครือข่ายชุมชนต่าง ๆ เข้ามาศึกษาดูงานและนำไปเป็นต้นแบบในการจัดการชุมชนของตนเอง โดยครอบคลุมทั้ง 3 มิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม      และสิ่งแวดล้อม จนประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) กลุ่มเก่อญอโพพิทักษ์สายน้ำ ชุมชนบ้านห้วยขม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 10 ประเภทกลุ่มเยาวชน   ปี 2551 2) ชุมชนบ้านสบลาน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 17 ประเภทชุมชน ปี 2559 3) ชุมชนบ้านป่าตึงงาม อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 18 ประเภทชุมชน ปี 2561 และ 4) กลุ่มเยาวชนจิตอาสาบ้านสันหลวง ชุมชนบ้านสันหลวง อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 19 ประเภทกลุ่มเยาวชน ปี 2562 ตามลำดับ

ตกลง